เมนู

[ 945] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน
สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า
อุเบกขินทรีย์.
[946] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น สุขินทรีย์
และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา.
[947] ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์
พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.
[948] ในอินทรีย์ 5 ประการนั้น อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น
อทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์มี 5 ประการนี้ เป็น 5 แล้วย่นเข้าเป็น 3 เป็น 3
แล้ว ขยายออกเป็น 5 ก็ได้ โดยปริยายด้วยประการดังนี้แล.
จบตติยวิภังคสูตรที่ 8

9. อรหันตสูตร



อินทรีย์ 5 อาศัยผัสสะเกิดเวทนา



[949] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการนี้
เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.
[950] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า
เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น
คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป
สงบไป.

[951] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อม
รู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่ง
เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา
เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[952] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอัน เป็น
ที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อม
รู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนา
ซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส-
เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[953] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ
ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนานั้น แหละดับไป
เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
โทมนัสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[954] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สืกเฉย ๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉย ๆ
ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนา
ซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.
[955] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ 2 อันเสียดสีกันจึง
เกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น เพราะแยกไม้ 2 อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย

ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสี ย่อมดับสงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อม
อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่า
เราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละ
ดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง
สุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น
ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งโทมนัสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อุเบกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง
แห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉย ๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉย ๆ ย่อม
รู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนา
ซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา
เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.
จบอรหันตสูตรที่ 9

อรรถกถาอรหันตสูตร



อรหันตสูตรที่ 9.

คำว่า ทฺวินนํ กฏฺฐานํ ได้แก่ แห่งไม้สีไฟ
2 อัน. คำว่า สํฆฏนสโมธานา ได้แก่ ด้วยการเสียดสีและด้วยการ
ประชุมเข้าด้วยกัน. คำว่า อุสมฺา คือ บ่อเกิดความอุ่น. คำว่า เตโช
คือควันไฟ. และในคำว่า เตโช นี้ พึงเห็นว่า อารมณ์ที่เป็นไปเหมือน
ไม้สีไฟอันล่าง ผัสสะเหมือนไม้สีไฟอันบน การเสียดสีของผัสสะเหมือนความ